มื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ผู้บริหารโรงพยาบาลพญาไท 1 นำโดย นพ.อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1 พร้อมด้วย พญ.สุขุมาลย์ สว่างวารี แพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวชและสูติศาสตร์ ผู้ก่อตั้งโครงการ ปัน ปัน เข้าสู่ปีที่ 9 ปันสุขนี้เพื่อน้อง และ ดร.พญ.
พลินี รัตนศิริวิไล แพทย์เฉพาะทางด้านหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยเหลือสังคม
โดยเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับน้องๆ เด็กหญิงบ้านราชวิถี และบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ให้กับสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีตลอดทุกปี โรงพยาบาลพร้อมให้ความอบอุ่นใจ ห่วงใยสังคม ช่วยเหลือสังคม อย่างอบอุ่นใจ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐิน ให้แก่หน่วยงานราชการ องค์กร คณะบุคคล หรือบุคคลผู้ประสงค์ขอรับพระราชทานนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง ทั้งกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด และในส่วนของกฐินกาล มีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน หลังออกพรรษา 1 วัน ระหว่างวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี พุทธศาสนิกชนจะร่วมทำบุญถวายผ้ากฐิน เพื่อเป็นการอุปถัมภ์พระสงฆ์ที่จำพรรษากาลครบถ้วนไตรมาสให้ได้รับอานิสงส์ตามพระวินัย และเป็นทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม โดยเป็นการรวมพลังแห่งความสามัคคี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจในการสร้างบุญกุศล สร้างความสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้งเป็นการจรรโลงและส่งเสริม สืบทอดให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป

ทั้งนี้ เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ประจำปี 2567 ตามที่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ขอพระราชทานไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 โดยมีนายมนตรี ตั้งเจริญถาวร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม , นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นประธาน และ พระราชสมุทรวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหารพระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งคณะกรรมการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ประกอบด้วย นายกริช ธนิกุล , นายยศสรัล การพานิช และคณะผู้บริหาร พนักงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด รวมทั้งข้าราชการภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรสงคราม ตลอดจนพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคจตุปัจจัยและร่วมเป็นเจ้าภาพพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน โดยมียอดเงินบริจาคถวายโดยเสด็จพระราชกุศล จำนวน 1,762,028.47 บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนหกหมื่นสองพันยี่สิบแปดบาทสี่สิบเจ็ดสตางค์) ในโอกาสนี้ได้จัดให้มีการมอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ สำนักศาสนศึกษานักธรรม-บาลี วัดเพชรสมุทรวรวิหาร, วงโยธวาทิต โรงเรียนศรัทธาสมุทร , โรงเรียนศรัทธาสมุทร และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อีกด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ ผลานิสงส์แห่งการถวายผ้าพระกฐินครั้งนี้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เป็นฉัตรแก้วปกเกศอาณาประชาราษฎรตลอดไป รวมทั้งบันดาลให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญกุศล มีจิตตั้งมั่นในความดีงาม ถึงพร้อมด้วยสรรพกำลังในอันที่จะบำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง

สำหรับวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดศรีจำปา” สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ. 2307 ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตำบลแม่กลอง เหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อหมู่บ้านเดิมของตน ชาวบ้านแหลมได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม” ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอารามหลวง ชั้นวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” มาจนถึงปัจจุบัน
GIT ปักหมุด Landmark การค้าอัญมณีและเครื่องประดับใจกลางกรุงเทพมหานคร เส้นทางถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ กระแสตอบรับดีเกินคาดพร้อมกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ พร้อมเรื่องราวบนถนนสายอัญมณีในกรุงเทพมหานคร
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เปิดเผยว่า งาน Bangkok Jewelry Week 2024 ภายใต้แนวคิด “ปลุกยักษ์” ฟื้นกระตุ้นเศรษฐกิจถนนสายการค้าทั้ง 3 เขต บางรัก สัมพันธวงศ์ และพระนคร ประสบความสำเร็จเกินคาด นักท่องเที่ยว ผู้บริโภค อินฟลูเอนเซอร์ เข้าร่วมงานชมงาน พร้อมแชร์ประสบการณ์และสร้างการรับรู้ด้านการท่องเที่ยวบนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับอันเก่าแก่บนโลกโซเชียล กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภายใน 3 เขตเศรษฐกิจนี้มากกว่า 10 ล้านบาท

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ได้จัดโครงการพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับในกรุงเทพมหานคร (ย่านบางรัก ย่านสัมพันธวงศ์ ย่านพระนคร) ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม หรือ Bangkok Jewelry Week by GIT โดยการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมถึงภาคีเครือข่ายพันธมิตรในถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและส่งเสริมสินค้าของที่ระลึกอัญมณีและเครื่องประดับผลักดัน Soft Power ในย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ โดยมีสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นของที่ระลึกและสามารถเชื่อถือได้ ผ่านการเลือกซื้อจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ (Buy with Confidence: BWC)


โดยการจัดงานครั้งนี้ ได้ร่วมมือกับร้านค้า และผู้ประกอบการตลอดเส้นทางถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับจัดกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ที่สร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับผู้ที่ชื่นชอบอัญมณีและเครื่องประดับ อาทิ กิจกรรม Gem and Jewelry Talks กิจกรรม Workshop เครื่องประดับ รวมถึงการเยี่ยมชมโรงงานของ Ten fingers studio ที่ทำให้คุณได้ทราบถึงการผลิตเครื่องประดับในทุกขั้นตอน รวมถึงการเปิดบ้านให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้ สัมผัสกับคุณค่าทางวัฒนธรรมไทยที่น่าหลงใหล (Thailand : Land of Jewel) ถือเป็นการสร้างการรับรู้ และความประทับใจในการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว อาทิ ชมมังกรทองคำหนักกว่า 10 กิโลกรัม และเสื้อเกราะอ่อนทองคำ ณ ห้างทอง จินฮั้วเฮง ชมเครื่องประดับฝีมือช่างเพชรบุรี ที่ บ้านช่างทอง และเลือกซื้อเครื่องประดับที่ได้รับมาตรฐานที่ The Old Siam Plaza ซึ่งได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาดจากผู้เข้าร่วมงานจากทั่วทุกมุมโลกกว่า 3,000 คน เข้ามาเยี่ยมชมการจัดแสดงงานในโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีมูลค่าการค้าสินค้าและบริการมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท และทุกเสียงต่างชื่นชมและประทับใจในประสบการณ์ท่องเที่ยวเส้นทางที่ระยิบระยับไปด้วยความงามพร้อมเรื่องราวของอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า GIT จะได้มีโอกาสที่จะได้จัดงานยิ่งใหญ่และเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเช่นนี้ โดยผสานกำลังกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย และสร้างการจดจำให้ประเทศไทยเราเป็นดินแดนแห่งอัญมณี (Thailand, Land of Jewel) อย่างมั่นคงและยั่งยืน

สามารถติดตามกิจกรรมต่อเนื่องได้ที่เพจ Bangkok Jewelry Week
และ เพจ The Gem and Jewelry Institute of Thailand
ติดตามข่าว ข่าววันนี้ การเมือง สังคม ธุรกิจ เศรษฐกิจ ตลาดหุ้น สิ่งแวดล้อม ไลฟ์สไตล์ ดนตรี ศิลปะ ภาพยนตร์